การจัดระบบข้อมูลในเว็บไซต์

การจัดระบบข้อมูลในเว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของเว็บไซต์  เนื่องจากโครงสร้างข้อมูลมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาระบบเนวิเกชัน  เนื่องจากข้อมูลในแต่ละลำดับชั้นจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรายการในระบบเนวิเกชัน  นอกจากนั้นชื่อของกลุ่มข้อมูลต่าง ๆ  ก็จะเป็นตัวกำหนดชนิดและลักษณะของข้อมูลภายในกลุ่มนั้น ๆ  ด้วย
                การจัดระบบข้อมูลในเว็บไซต์ประกอบด้วย  แบบแผนระบบข้อมูล (Organizational Scheme)  และโครงสร้างระบบข้อมูล (Organizational Structure)  โดยที่แบบแผนระบบข้อมูลในกลุ่ม  ซึ่งจะมีผลต่อการจัดแบ่งข้อมูลเข้าในแต่ละกลุ่มภายหลัง  ส่วนโครงสร้างระบบข้อมูลจะกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มข้อมูล 

แบบแผนระบบข้อมูล (Organizational Scheme) 
                แบบแผนระบบข้อมูล  คือ  การกำหนดลักษณะพื้นฐานของข้อมูลภายในกลุ่มเดียวกัน  ในชีวิตประจำวันคุณอาจได้สัมผัสกับแบบแผนการจัดระบบต่าง ๆ  มากมายโดยไม่รู้ตัว  เช่น  ในการค้นหาเบอร์โทรศัพท์จากสมุดโทรศัพท์  ซึ่งใช้รูปแบบการจัดระบบตามตัวอักษร  หรือการเลือกซื้อของในห้างสรรพสินค้าที่มีการแบ่งหมวดหมู่สินค้าที่แตกต่างกันไป
แบบแผนระบบข้อมูลแบบแน่นอน (Exact Organizational Schemes)
                แบบแผนระบบข้อมูลแบบแน่นอน  เกิดจากการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่มที่แน่นอน  โดยไม่มีการเหลื่อมล้ำของข้อมูลในแต่ละกลุ่ม  ตัวอย่างระบบข้อมูลรูปแบบนี้  ได้แก่  ระบบข้อมูลตามตัวอักษร  ระบบข้อมูลตามลำดับเวลา  และระบบข้อมูลตามพื้นที่  ลักษณะเด่นของแบบแผนประเภทนี้  คือ  ความง่ายต่อการออกแบบและดูแล  เพราะไม่จำเป็นต้องอาศัยความพยายามใด ๆ  ในการแบ่งข้อมูลให้อยู่ตามกลุ่มและยังง่ายต่อการใช้งาน
        • การจัดเรียงข้อมูลตามลำดับอักษร (Alphabetical)  เป็นรูปแบบการจัดระบบพื้นฐานของพจนานุกรม  สารานุกรม  สมุดโทรศัพท์  ห้องสมุด  และดัชนีที่อยู่ด้านหลังหนังสือ  สิ่งเหล่านี้ล้วนใช้ประโยชน์จากการลำดับตัวอักษรในการจัดเรียงข้อมูล  แต่วิธีนี้ก็มีข้อด้วย  คือ  สิ่งที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจไม่มีความสัมพันธ์กันแต่อย่างใด
  • การจัดข้อมูลตามลำดับเวลา (Chronological)  มีความเหมาะสมกับข้อมูลบางประเภทที่มีความสัมพันธ์กับเวลา  เช่น ข่าว  หนังสือพิมพ์  รายการทีวี  ซึ่งจำเป็นนำเสนอข้อมูลตามลำดับเวลา


  • ข้อมูลที่ควรจัดระบบตามพื้นที่ (Geographic)  ได้แก่  ข่าว  พยากรณ์อากาศ  เศรษฐกิจ  การเมืองหรือการปกครอง  ที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่

แบบแผนระบบข้อมูลแบบไม่แน่นอน
                ข้อมูลที่อยู่ในแบบแผนนี้  เป็นข้อมูลที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มโดยไม่มีการกำหนดแน่นอน  ซึ่งยากต่อการออกแบบ  ดูแล  และใช้งาน  แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบนี้กลับมีความสำคัญและเป็นที่นิยมใช้มากกว่าแบบการจัดระบบที่แน่นอนเสียอีก  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตบางคนไม่รู้แน่ชัดถึงสิ่งที่กำลังค้นหา  หรืออาจจะรู้เพียงบางส่วนแต่ยังไม่แน่ใจนัก
                เนื่องจากระบบข้อมูลแบบนี้มีการรวมข้อมูลตามลักษณะที่คล้ายหรือใกล้เคียงกัน  ฉะนั้นในกระบวนการค้นหาข้อมูลประเภทนี้  ผู้ใช้สามารถเรียนรู้รายละเอียดของสิ่งที่ค้นหาเพิ่มขึ้นได้  ตามจำนวนครั้งในการค้นหาข้อมูลจากเสิร์ชเอ็นจิ้น  โดยใช้คำที่มีความหมายกว้างก่อนและจากผลการเสิร์ชทำให้เรารู้สึกถึงสิ่งที่มีความเฉพาะเจาะจงขึ้นเรื่อย ๆ  จึงนำข้อมูลนั้นมาเสิร์ชต่อแล้วพบสิ่งที่ต้องการในที่สุด 
ชนิดของแบบแผนระบบข้อมูลแบบไม่แน่นอน
  • จัดกลุ่มข้อมูลตามหัวข้อ (Topical)  เป็นวิธีที่มีประโยชน์และนิยมใช้กันในเว็บไซต์โดยทั่วไป  สิ่งสำคัญและท้าทายความสามารถในการจัดกลุ่มแบบนี้  คือ  การกำหนดหัวข้อต่าง ๆ  ให้สื่อความหมายและเข้าใจได้ง่าย  มีขอบเขตไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป  และควรคำนึงถึงข้อมูลใหม่ ๆ  ที่อาจเพิ่มในอนาคตด้วย


  • จัดกลุ่มข้อมูลตามกลุ่มผู้ใช้ (Audience-specific)  ในกรณีที่คุณมีกลุ่มผ้ใช้ที่ชัดเจน  และเข้ามาใช้บริการในเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ  จะเป็นการดีถ้าคุณสามารถแบ่งข้อมูลออกเป็นพวก ๆ  ตามความสนใจของผ้ใช้แต่ละกลุ่ม  เพื่อความสะดวกในการเลือกดูเฉพาะที่ตนเองสนใจ
  • จัดกลุ่มข้อมูลตามการทำงาน (Task-oriented)  เป็นการแบ่งเนื้อหาและการทำงานต่าง ๆ  ให้อยู่ในรูปของกระบวนการ  หน้าที่  และงานย่อย  ในปัจจุบันเว็บไซต์ที่จัดระบบตามลักษณะงานนี้มีให้เห็นได้น้อย  เนื่องจากข้อมูลในเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักจะเป็นเนื้อหามากกว่าการทำงาน


  • จัดกลุ่มข้อมูลตามแบบจำลอง (Metaphor-driven)  แบบจำลองเป็นสิ่งที่มักใช้กับการแนะนำสิ่งใหม่  โดยเชื่อมความสัมพันธ์กับสิ่งที่ใช้คุ้นเคยอยู่แล้ว  ในขั้นนี้เราสามารถใช้แบบจำลองการจัดระบบ (organizational metaphor)  ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสิ่งใหม่ได้ดีและชัดเจนขึ้น  ข้อสำคัญก็คือ  ต้องแน่ใจว่าแบบจำลองที่เลือกมาใช้นั้นเป็นที่คุ้นเคยต่อผ้ใช้ส่วนใหญ่แล้ว

แบบแผนระบบข้อมูลแบบผสม (Hybrid Schemes)
                การจัดระบบข้อมูลโดยใช้เพียงแบบแผนใดแบบแผนหนึ่งนั้น  จะทำให้ผู้ใช้สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว  แต่เมื่อไรก็ตามที่จำเป็นต้องมีการผสมแบบแผนเหล่านั้น  ก็จะสร้างความสับสนให้กับผ้ใช้อย่างเลี่ยงไม่พ้น  ตัวอย่างของการผสมแบบแผนนั้นมีให้เห็นในเว็บไซต์ได้ทั่วไป  เนื่องจากเป็นเรื่องค่อนข้างยากที่จะตัดสินใจใช้เพียงแบบแผนเดียวกับข้อมูลที่มีอยู่อย่างหลากหลาย
                ในการนำเสนอข้อมูลที่มีความหลากหลายภายในเว็บ  ถ้าเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้หลายแบบแผนรวมกันในการจัดกลุ่มข้อมูล  วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ใช้ยังคงความเข้าใจในรูปแบบข้อมูลที่แตกต่างกันได้ดี  ก็คือการแยกส่วนการนำเสนอของแบบแผนที่ต่างกันให้อยู่คนละที่กัน  และทำให้มีลักษณะที่แตกต่างกัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พวกเราเหล่า Autobot

พูดคุยกับ Autobots


ShoutMix chat widget
 
  • Home
  • Posts RSS
  • Comments RSS
  • Edit