HOME


             ใกล้จะเข้าโรงเต็มทีแล้ว สำหรับภาพยนตร์เรื่อง ทรานสฟอร์เมอร์ส ภาค 3G ที่ใครหลาย ๆ คนรอคอยมาเนิ่นนาน คราวนี้คงจะตื่นเต้นกันไม่น้อย เพราะนอกจากจะได้ติดตามเนื้อเรื่องสุดมันส์ของภาพยนตร์เรื่องนี้แล้ว ยังได้ยลโฉม "นายซัน  วัธกร เจริญสิริสกุล" พระเอกคนใหม่สุดเท่ของภาพยนตร์เรื่องนี้กันอีกด้วย
        
               สำหรับหนุ่ม นายซัน  วัธกร เจริญสิริสกุล  เป็นนายแบบหนุ่มกล้ามเนื้อสวยวัย 21 ปีที่คร่ำหวอดในวงการนายแบบมาเนิ่นนาน และยังเป็นนายแบบให้กับโมเดลลิ่ง ที่จัดหานายแบบสำหรับชุดชั้นในและชุดว่ายน้ำโดยเฉพา ซึ่งแม้ว่าหนุ่มหล่อคนนี้จะไม่เคยมีผลงานด้านการแสดงมาก่อนเลย แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ ไมเคิล เบย์ ผู้กำกับรู้สึกหนักใจแต่อย่างใด จับนายซันมาฝึกฝนทักษะการแสดงครั้งใหญ่ ซึ่ง ไมเคิล เบย์ ก็ได้เปิดเผยว่า เห็นแววนักแสดงของนายซันมาตั้งแต่เคยร่วมงานกันเมื่อ 2 ปีก่อนแล้ว ก็คิดว่านายซันคงเรียนรู้ได้ไม่ยาก และเป็นนักแสดงที่ดีได้เลยทีเดียว
             

Read comments

ความฝันเล็กๆที่อยากครอบครอง

@ดูดีนะจ๊ะ


@เท่มะเบาเลยนะ



@น่าสัมผัส



@สะดุดตาจัง



@อยากได้อยากโดน

Read comments

ครอบครัวอบอุ่น

@ทำได้แค่นี้

@ก็มีอยู่กันเท่านี้








@ มันไส้อิเจ้จัง

@อายจัง








            







@กลับบ้านเรากัน

Read comments

สบายๆกับชีวิต

@ปากเมง

@นายแน่มาก
    


@เต็มที่กับชีวิต

@สุดๆไปเลย

Read comments

วันที่ 4 กันยายน 2554

เพราะเธอคือหัวใจของฉัน...
สายฝนที่ยังคง โปรยปราย
หยอกล้อและทักทาย ฉันในคืนนี้
คงอยากรู้ ว่าทำไมถึงยังไม่มี
ใครซักที อยู่ตรงนี้ ในคืนเงียบงัน


คงเป็นคำถาม ที่ไร้เหตุผลกับคำตอบ
แต่หัวใจก็เริ่มชอบ ที่จะอยู่กับฝัน
เพราะเธอ คนของความผูกพันธ์
มีอยู่จริงตรงนั้น ที่ซักวันอาจจะพบเจอ


เพราะฉันเชื่อ ในพรมลิขิต
และไม่เคยคิด ว่าเป็นแค่เรื่องพร่ำเพ้อ
ที่คนบนฟ้า จะส่งให้เธอ
มาพบเจอ และอยู่เคียงข้างเสมอ ตลอดไป


แล้วตอนนี้สายฝน
ที่กำลังเล่นซุกซน เห็นบ้างไหม
เธอผู้เป็น เหมือนเจ้าของหัวใจ
ตอนนี้เป็นงัย และสบายดีไหม ในแต่ละวัน


ถ้ามีโอกาส ได้เจอ
ฝากบอกเธอ ด้วยได้ไหมว่าฉัน
สบายดี แต่ก็คิดถึง เธอทุกวัน
แม้ค่ำคืนจะดูเงียบงัน แต่ก็ยังมีฝัน ถึงวันของเรา


เพราะเหตุผล ทั้งหมดที่มี
จึงทำให้หัวใจดวงนี้ เริ่มไม่เหงา
การรอคอย และสิ้นสุดเรื่องราว
คือทุก-ทุกเช้า ที่ได้ตื่นมาเคียงข้างเธอ


Read comments

วันที่ 2 กันยายน 2554


Time : ขอเวลา
ไม่ได้อยากจะแกล้งให้หมดหวัง
ไม่ได้อยากจะให้ฟังคำอ้อมค้อม
แค่ไม่อยากให้รักเราเป็นของปลอม
อยากถนอมรักษาไว้ ให้เนิ่นนาน


เธอรู้ไหมตัดสินใจในครั้งนี้
มันจะมีผลต่อไปอีกเท่าไหร่
ความเป็นอยู่ ความผูกพันธ์จะเป็นยังไง
ถ้าในใจไม่มั่นคงจะรักจริง


อยากจะขอเวลาเธอได้ไหม
อยากให้ใจได้พิสูจน์อะไรหน่อย
จะได้ไม่รับปากเธอพล่อยๆ
ว่าจะคอยอยู่ข้างเธอตลอดไป


รอแบบไร้กำหนดการเวลา
ไม่รู้ว่าเธอเหนื่อยล้าจะรอไหม
หากเหนื่อยหน่ายที่ต้องรอต่อไป
ฉันก็จะไม่รั้งเธอไว้เลย


แต่หากว่าเธอยังรออยู่ตรงนี้
คอยหยิบยื่นสิ่งดีๆเข้ามาให้
ฉันก็จะเก็บรักษามันเอาไว้
ความจริงใจที่เธอให้จะไม่ลืม


อยากขอโทษที่ทำให้ลำบาก
เสียเวลาเธอไปมากใช่ไหม
ความรู้สึกครึ่งๆกลางๆเป็นยังไง
ฉันก็ไม่ได้รู้สึกต่างจากเธอ


อยากขอบคุณเธอสักร้อยๆครั้ง
ที่เธอยังคอยยืนอยู่ตรงนี้
อยู่ข้างคนที่ไม่ได้มีอะไรดี
อยู่ข้างๆคนที่ไม่มีใคร


ขอเวลาให้ฉันนะ ขอร้อง
อยากจะมองหาอะไรหลายๆอย่าง
อยากมองหาความเป็นไป ระยะทาง
อยากมองบางคนที่รอฉันอยู่ ให้ดีๆ


หากสิ้นสุดการรอคอยลงเมื่อไหร่
ฉันจะเข้าใจทุกความหมายและเหตุผล
การรักใครจริงจังสักหนึ่งคน
คือเหตุผลที่ฉันจะ "รักเธอ"

Read comments

วันที่ 1 กันยายน 2554

วันนี้ตื่นมาแบบเหนื่อยๆ

                 วันนี้ตื่่นเช้ามาของวันพฤหัส หยิบมือถือมาเปิดเช็คว่าใครโทรมาบ้าง หรือ มีข้อความบ้างมั๊ย แล้วมันก็เหมือนเคยเจอแต่ความว่างเปล่า คือ ไม่มีอารายให้ตื่นเต้น มีแต่ เวลา+วันที่เท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็นึกขำนะดูวันที่แล้วมีความรู้สึกหลายอย่างคือ
  1. มันเข้าสู่เดือนที่ 9 ของปีแล้วเหรอ
  2. มันเป็นเดือนที่ใกล้สอบแล้วเหรอ
  3. เป็นเดือนที่มีกำหนดส่งงานมากที่สุด
  4. สำคัญสุด วันนี้หวยออก
                 หลังจากที่ได้ทำกิจวัตรตอนเช้าเสร็จเหมือนเคย เดิมไปซื้อขนมจีบหน้าปากซอยตามเคย ระหว่างยืนซื้ออยู่คนขายขนมจีบได้มีคำถาม ถามเราว่า
"อะไรเอ๋ย เช้ามาวุ่นวาย บ่ายอยู่ไม่ติดร้อนรน เย็นนั่งเศร้าคอตก"
ไอเราก็งง มันคืออะไรกันแน่สุดท้ายก็ยอม แต่เค้าบอกว่ามะบอกเด๋ววันนี้ก็รู้เอง มันทำให้ยิ่ง งง ไปอีก

                  พอตกบ่ายถึงเวลาลง LAB ก็ทำ LAB ไปเรื่อยๆจากนั้นมีข้อความมาว่า รางวัลที่ 1 724533 เห็นเลขแล้วมันสวยดีเลยโทรถามแม่ว่า งวด นี้เปงงายบ้าง แม่บอกว่า เศร้าตามเคย พอย้อนไปเมื่อตอนเช้ารู้คำตอบของคำถามคือ คนเล่นหวน นั่นเอง 555555 งงอยู่ได้

Read comments

ทำ RSS เพื่อดึงข่าวเว็บอื่นมาติดเว็บไซต์

  นำ Code ด้านล่างไปไว้ในตำแหน่งที่ต้องการให้แสดงข่าว

1. ข่าวบันเทิง
<.iframe src ="http://www.zabzaa.com/news/entertain/entertain.php"
marginwidth=0 marginheight=0 hspace=0 vspace=0 frameborder=0 scrolling=No width=468 height=360>


2. ข่าวบันเทิงต่างประเทศ
<.iframe src ="http://www.zabzaa.com/news/ent/ent.php"
marginwidth=0 marginheight=0 hspace=0 vspace=0 frameborder=0 scrolling=No width=468 height=360>


3. ข่าวการเมือง
<.iframe src ="http://www.zabzaa.com/news/politic/politic.php"
marginwidth=0 marginheight=0 hspace=0 vspace=0 frameborder=0 scrolling=No width=468 height=350>


4. ข่าวกีฬา
<.iframe src ="http://www.zabzaa.com/news/sport/sports.php"
marginwidth=0 marginheight=0 hspace=0 vspace=0 frameborder=0 scrolling=No width=468 height=350>


5. ข่าวอาชญากรรม
<.iframe src ="http://www.zabzaa.com/news/crime/crime.php"
marginwidth=0 marginheight=0 hspace=0 vspace=0 frameborder=0 scrolling=No width=468 height=350>


6. ข่าวเทคโนโลยี
<.iframe src ="http://www.zabzaa.com/news/technology/technology.php">  
marginwidth=0 marginheight=0 hspace=0 vspace=0 frameborder=0 scrolling=No width=468 height=360>




ตัวอย่างของเว็บที่ทำ  RSS  ข่าว

Read comments

การนำเพลงมาใส่ใน Webpage


1.เปิด Templates ใหม่อีกครั้งเพื่อสร้างเป็นหน้า Webpage

2.หาตำแหน่งที่เราต้องการจะใส่เพลง


3.พิมพ์ Code ของการใส่เพลงลงใน Notepad

4.คลิก Code 



5. Copy Code ที่พิมพ์ใน Notepad

6.นำ Code มาวางในบรรทัดที่เราต้องการ (ต้องอยู่ภายใน body)

7.กด F12 เพื่อดูผลลัพธ์ save ชื่อว่า UseMusic.html





Read comments

การใส่ตัวแปลภาษาของ Google Translate

1.สร้าง Webpage ขึ้นมา 1 หน้าเพื่อที่จะทำการใส่ Tech &Tips ใน Webpage ของเรา (ณ ที่นี่สร้าง Webpage พร้อมTemplates ไว้แล้ว)
2.มองหาจุดที่ต้องการจะใส่ตัวแปลภาษาของ Google Translate
3.พิมพ์ Code ของ Google Translate ส่ใน Notepad

4. กลับไปหน้า Templates คลิก Code

5.Copy Code ที่พิมพ์ใน Notepad 


6.นำ Code มาวางในบรรทัดที่เราต้องการ

7.กด F12 เพื่อดูผลลัพธ์



8.เปิด Templates มาใช้เพื่อสร้างเป็นหน้า Webpage

9.นำส่วนที่เป็นเนื้อมาใส่


10. Save โดยตั้งชื่อไฟล์ GoogleTranslate.html
11.เปิด GoogleTranslate.html เพื่อดูผลลัพธ์


12.เลือกภาษาที่ต้องการจะแปล



13.สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง





Read comments

ประวัติส่วนตัว

                                                   

     ชื่อ : นายวัธกร  เจริญสิริสกุล
     ชื่อเล่น : ซัน
     อายุ : 21 ปี
     ที่อยู่ปัจจุบัน : 66/1  ซอย 2 ถนน
                             ควนขนุน
 หมู่ 3
                             ตำบล โคกหล่อ
                             อำเภอ เมือง
                             จังหวัด ตรัง

                             92000
     เกิด :  10  กุมภาพันธ์  2554
     น้ำหนัก : 64 กิโลกรัม
     ส่วนสูง : 170 เซนติเมตร
     สัญชาติ :  ไทย
     เชื้อชาติ  : ไทย
     ศาสนา : พุทธ
     สถานภาพ : โสด
                                                              สุขภาพ :  แข็งแรง


    

Read comments

ออกแบบเนวิเกชันสำหรับเว็บ

ความสำคัญของระบบเนวิเกชัน

             ในชีวิตจริงของเราบางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องขับรถไปในที่ๆ ไม่เคยไปมาก่อน สิ่งที่ทุกคนปราถนาคือการไปถึงที่หมายโดยไม่หลงทางเพราะนอกจากจะทำให้เราไปไม่ถึงที่หมาย เสียเวลาเสียพลังงานแล้วยังอาจทำให้อารมณ์เสียได้อีก โชคดีที่เรามีระบบการป้องกันการจราจรที่ดี เช่นป้ายแสดงชื่อถนน ป้ายแสดงชื่อทางแยก สิ่งเหล่านี้เมื่อนำมาใช้ปะกอบกันก็จะช่วยให้เรารู้ตำแหน่งปัจจุบันและทิศทางไปสู่จุดหมายได้
              เช่นเดียวกับโลกอินเตอร์เน็ท ที่คุณอาจหลงทางในเว็บไซท์บางแห่งเพราะขาดระบบการนำทางที่ดีทำให้เกิดความรู้สึกสับสนและไม่พอใจ ขณะที่การออกแบบโครงสร้างข้อมูลที่ดีช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนระบบนิเนวิเกชั่นเป็นส่วนเสริมในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่สื่อความหมาย เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ท่องเว็บได้อย่างคล่องตัวโดยไม่หลงทาง ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสบายขณะที่ท่องเว็บ โดยสามารถรู้ว่าตัวเองกำลังอยู่ที่ไหน ได้ผ่านที่ใดมาบ้าง และควรจะไปทางไหนต่อ

               การเข้าถึงข้อมูลอย่างสะดวกเป็นหัวใจสำคัญของระบบเนวิเกชั่น การมีเนื้อหาในเว็บไซท์ที่ดีจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอแต่เนื้อหานั้นจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าผู้ใช้ค้นหาสิ่งที่ต้องการไม่พบ ความสำเร็จของเว็บไซท์ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ใช้สามารถพึ่งพาระบบเนวิเกชั่นในการนำทางไปถึงที่หมายได้

                ระบบเนวิเกชั่นนั้นอาจประกอบด้วยองค์ประกอบหลายๆ อย่าง เช่นเนวิเกชันบาร์ หรือ pop-up menu ซึ่งมักจะมีอยู่ในทุกๆ หน้าของเว็บเพจ และอาจอยู่ในหน้าเฉพาะที่มีรูปแบบป็นระบบสารบัญ ระบบดัชนี หรือ site map ที่สามารถให้ผู้ใช้คลิกผ่านโครงสร้างข้อมูลไปยังส่วนอื่นๆได้ การเข้าใจถึงรูปแบบและองค์ประกอบของระบบเนวิเกชั่นเหล่านี้ จะทำให้คุณออกแบบระบบเนวิเกชันด้วยองค์ประกอบที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบของเนวิเกชัน

                ระบบเนวิเกชันสำหรับเว็บไซท์ขนาดใหญ่มักใช้หลายรูปแบบร่วมกันเพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลให้มากขึ้น ซึ่งผู้ออกแบบควรมีความเข้าใจและเลือกใช้อย่างเหมาะสม โดยไม่ให้หลากหลายหรือจำกัดเกินไป

ระบบเนวิเกชั่นแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้

          ◦ระบบเนวิกเกชั่นแบบลำดับขั้น (Hierarchical)

          ◦ระบบเนวิกเกชันแบบโกลบอล (Global)

          ◦ระบบเนวิกเกชั่นแบบโลคอล (Local)

          ◦ระบบเนวิกเกชันแบบเฉพาะที่ (Ad Hoc)

องค์ประกอบของระบบเนวิกเกชันหลัก (Main Navigation Elements)

               ระบบเนวิกเกชันที่สำคัญและพบได้มากที่สุดคือ เนวิเกชันที่อยู่ในหน้าเดียวกับเนื้อหา ไม่ใช่เนวิกเกชันที่อยู่ในหน้าแรก เนื่องจากเมื่อผู้ใช้ผ่านหน้าแรกเข้าไปสู่ภายในเว็บไซท์แล้ว ก็ไม่อยากจะกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่หน้าแรกทุกครั้งก่อนจะเข้าไปดูเนื้อหาในส่วนอื่นๆต่อ ระบบเนวิเกชันหลักทั้งแบบโกบอลและแบบโลคอล จึงช่วยให้ผู้ใช้สามารถย้ายจากหน้าใดๆ ไปสู่ส่วนอื่นในเว็บไซท์ได้อย่างคล่องตัว องค์ประกอบของเนวิกเกชันมีได้หลายรูปแบบ ได้แก่ เนวิเกชั่นบาร์ เนวิกเกชันเฟรม Pull down, menu, pop-up menu, image map  และ search box

เนวิเกชันบาร์ (Nevigation Bar)
            เนวิเกชันบาร์เป็นระบบพื้นฐานที่ใช้ได้หลายรูปแบบทั้งแบบลำดับชั้น แบบโกลบอล และแบบโคบอล โดยทั่วไปเนวิเกชันบาร์จะประกอบด้วยกลุ่มของลิงค์ต่าง ๆ ที่อยู่รวมกันในบริเวณหนึ่งของหน้าเว็บ โดยอาจจะเป็นตัวหนังสือหรือกราฟิกก็ได้ และถือเป็นรูปแบบของระบบเนวิเกชันที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

เนวิเกชันบาร์ระบบเฟรม (Frame-Based)
              การสร้างเนวิเกชันบาร์โดยใช้ระบบเฟรมเป็นอีกวิธีที่ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนวิเกชันได้ง่าย และสม่ำเสมอ คุณสมบัติของเฟรมจะทำให้คุณสามารถแสดงเว็บหลาย ๆ หน้าไว้ในหน้าต่างบราวเซอร์เดียวกัน โดยที่แต่ละหน้ายังเป็นอิสระต่อกัน การลิงค์จากเฟรมที่เป็นเนวิเกชันบาร์สามารถควบคุมการแสดงผลของข้อมูลในอีกเฟรมหนึ่งได้ ดังนั้นส่วนที่เป็นเนวิเกชันบาร์จะปรากฏอยู่คงที่เสมอ ในขณะที่ผู้ใช้เลื่อนดูข้อมูลใด ๆ ก็ตามในอีกเฟรมหนึ่ง การแยกระบบเนวิเกชันบาร์ออกจากหน้าข้อมูลในลักษณะนี้ จะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงระบบเนวิเกชันได้ตลอดเวลา และยังคงความสม่ำเสมอทั่งทั้งเว็บไซต์

อย่างไรก็รตาม การใช้เฟรมในระบบเนวิเกชันนั้น สร้างปัญหาที่สำคัญอีกหลายประการ อาทิเช่น

        1.การครอบครองพื้นที่หน้าจอตลอดเวลา

        2.รบกวนการทำงานของบราวเซอร์

        3.ทำให้เวลาในการแสดงผลช้ายิ่งขึ้น

        4.ต้องใช้การออกแบบที่ซับซ้อน

คุณสมบัติสำคัญของระบบเนวิเกชัน

             ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีโปรแกรมที่ใช้ช่วยในการสร้างเว็บไซต์มากมาย แต่ก็ไม่มีโปรแกรมไหนที่จะช่วยสร้างระบบเนวิเกชันให้คุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้คุณสมบัติพิเศษ On Mouse Over หรือ Image Map ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก ในการออกแบบเว็บไซต์ต้องรู้หลักนการสร้างเนวิเกชันที่เหมาะสม เพื่อจะสื่อถึงเนื้อหาได้อย่างชัดเจนและน่าสนใจ จากนั้นจึงใช้โปรแกรมต่าง ๆ ช่วยสร้างสิ่งเหล่านั้นให้สำเร็จขึ้นมา คุณสมบัติของระบบเนวิเกชันทั้ง 10 ประการต่อไปนี้ ไม่ได้รวมกันเป็นสูตรสำเร็จแต่อย่างใด แต่จะเป็นส่วนช่วยให้เข้าใจในหลักการ และนำไปใช้ในการะบวนการออกแบบได้อย่างดี

ระบบเนวิเกชันที่มีประสิทธิภาพ ควรมีคุณสมบัติดังนี้

         ◦เข้าใจง่าย

         ◦มีความสม่ำเสมอ

         ◦มีการตอบสนองต่อผู้ใช้

         ◦มีความพร้อมและเหมาะสมต่อการใช้งาน

         ◦นำเสนอหลายทางเลือก

         ◦มีขั้นตอนสั้นและประหยัดเวลา

         ◦มีรูปแบบที่สื่อความหมาย

         ◦มีคำอธิบายที่ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย

         ◦เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์

         ◦สนับสนุนเป้าหมายและพฤติกรรมของผู้ใช้





Read comments

การจัดระบบข้อมูลในเว็บไซต์

การจัดระบบข้อมูลในเว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของเว็บไซต์  เนื่องจากโครงสร้างข้อมูลมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาระบบเนวิเกชัน  เนื่องจากข้อมูลในแต่ละลำดับชั้นจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรายการในระบบเนวิเกชัน  นอกจากนั้นชื่อของกลุ่มข้อมูลต่าง ๆ  ก็จะเป็นตัวกำหนดชนิดและลักษณะของข้อมูลภายในกลุ่มนั้น ๆ  ด้วย
                การจัดระบบข้อมูลในเว็บไซต์ประกอบด้วย  แบบแผนระบบข้อมูล (Organizational Scheme)  และโครงสร้างระบบข้อมูล (Organizational Structure)  โดยที่แบบแผนระบบข้อมูลในกลุ่ม  ซึ่งจะมีผลต่อการจัดแบ่งข้อมูลเข้าในแต่ละกลุ่มภายหลัง  ส่วนโครงสร้างระบบข้อมูลจะกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มข้อมูล 

แบบแผนระบบข้อมูล (Organizational Scheme) 
                แบบแผนระบบข้อมูล  คือ  การกำหนดลักษณะพื้นฐานของข้อมูลภายในกลุ่มเดียวกัน  ในชีวิตประจำวันคุณอาจได้สัมผัสกับแบบแผนการจัดระบบต่าง ๆ  มากมายโดยไม่รู้ตัว  เช่น  ในการค้นหาเบอร์โทรศัพท์จากสมุดโทรศัพท์  ซึ่งใช้รูปแบบการจัดระบบตามตัวอักษร  หรือการเลือกซื้อของในห้างสรรพสินค้าที่มีการแบ่งหมวดหมู่สินค้าที่แตกต่างกันไป
แบบแผนระบบข้อมูลแบบแน่นอน (Exact Organizational Schemes)
                แบบแผนระบบข้อมูลแบบแน่นอน  เกิดจากการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่มที่แน่นอน  โดยไม่มีการเหลื่อมล้ำของข้อมูลในแต่ละกลุ่ม  ตัวอย่างระบบข้อมูลรูปแบบนี้  ได้แก่  ระบบข้อมูลตามตัวอักษร  ระบบข้อมูลตามลำดับเวลา  และระบบข้อมูลตามพื้นที่  ลักษณะเด่นของแบบแผนประเภทนี้  คือ  ความง่ายต่อการออกแบบและดูแล  เพราะไม่จำเป็นต้องอาศัยความพยายามใด ๆ  ในการแบ่งข้อมูลให้อยู่ตามกลุ่มและยังง่ายต่อการใช้งาน
        • การจัดเรียงข้อมูลตามลำดับอักษร (Alphabetical)  เป็นรูปแบบการจัดระบบพื้นฐานของพจนานุกรม  สารานุกรม  สมุดโทรศัพท์  ห้องสมุด  และดัชนีที่อยู่ด้านหลังหนังสือ  สิ่งเหล่านี้ล้วนใช้ประโยชน์จากการลำดับตัวอักษรในการจัดเรียงข้อมูล  แต่วิธีนี้ก็มีข้อด้วย  คือ  สิ่งที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจไม่มีความสัมพันธ์กันแต่อย่างใด
  • การจัดข้อมูลตามลำดับเวลา (Chronological)  มีความเหมาะสมกับข้อมูลบางประเภทที่มีความสัมพันธ์กับเวลา  เช่น ข่าว  หนังสือพิมพ์  รายการทีวี  ซึ่งจำเป็นนำเสนอข้อมูลตามลำดับเวลา


  • ข้อมูลที่ควรจัดระบบตามพื้นที่ (Geographic)  ได้แก่  ข่าว  พยากรณ์อากาศ  เศรษฐกิจ  การเมืองหรือการปกครอง  ที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่

แบบแผนระบบข้อมูลแบบไม่แน่นอน
                ข้อมูลที่อยู่ในแบบแผนนี้  เป็นข้อมูลที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มโดยไม่มีการกำหนดแน่นอน  ซึ่งยากต่อการออกแบบ  ดูแล  และใช้งาน  แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบนี้กลับมีความสำคัญและเป็นที่นิยมใช้มากกว่าแบบการจัดระบบที่แน่นอนเสียอีก  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตบางคนไม่รู้แน่ชัดถึงสิ่งที่กำลังค้นหา  หรืออาจจะรู้เพียงบางส่วนแต่ยังไม่แน่ใจนัก
                เนื่องจากระบบข้อมูลแบบนี้มีการรวมข้อมูลตามลักษณะที่คล้ายหรือใกล้เคียงกัน  ฉะนั้นในกระบวนการค้นหาข้อมูลประเภทนี้  ผู้ใช้สามารถเรียนรู้รายละเอียดของสิ่งที่ค้นหาเพิ่มขึ้นได้  ตามจำนวนครั้งในการค้นหาข้อมูลจากเสิร์ชเอ็นจิ้น  โดยใช้คำที่มีความหมายกว้างก่อนและจากผลการเสิร์ชทำให้เรารู้สึกถึงสิ่งที่มีความเฉพาะเจาะจงขึ้นเรื่อย ๆ  จึงนำข้อมูลนั้นมาเสิร์ชต่อแล้วพบสิ่งที่ต้องการในที่สุด 
ชนิดของแบบแผนระบบข้อมูลแบบไม่แน่นอน
  • จัดกลุ่มข้อมูลตามหัวข้อ (Topical)  เป็นวิธีที่มีประโยชน์และนิยมใช้กันในเว็บไซต์โดยทั่วไป  สิ่งสำคัญและท้าทายความสามารถในการจัดกลุ่มแบบนี้  คือ  การกำหนดหัวข้อต่าง ๆ  ให้สื่อความหมายและเข้าใจได้ง่าย  มีขอบเขตไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป  และควรคำนึงถึงข้อมูลใหม่ ๆ  ที่อาจเพิ่มในอนาคตด้วย


  • จัดกลุ่มข้อมูลตามกลุ่มผู้ใช้ (Audience-specific)  ในกรณีที่คุณมีกลุ่มผ้ใช้ที่ชัดเจน  และเข้ามาใช้บริการในเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ  จะเป็นการดีถ้าคุณสามารถแบ่งข้อมูลออกเป็นพวก ๆ  ตามความสนใจของผ้ใช้แต่ละกลุ่ม  เพื่อความสะดวกในการเลือกดูเฉพาะที่ตนเองสนใจ
  • จัดกลุ่มข้อมูลตามการทำงาน (Task-oriented)  เป็นการแบ่งเนื้อหาและการทำงานต่าง ๆ  ให้อยู่ในรูปของกระบวนการ  หน้าที่  และงานย่อย  ในปัจจุบันเว็บไซต์ที่จัดระบบตามลักษณะงานนี้มีให้เห็นได้น้อย  เนื่องจากข้อมูลในเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักจะเป็นเนื้อหามากกว่าการทำงาน


  • จัดกลุ่มข้อมูลตามแบบจำลอง (Metaphor-driven)  แบบจำลองเป็นสิ่งที่มักใช้กับการแนะนำสิ่งใหม่  โดยเชื่อมความสัมพันธ์กับสิ่งที่ใช้คุ้นเคยอยู่แล้ว  ในขั้นนี้เราสามารถใช้แบบจำลองการจัดระบบ (organizational metaphor)  ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสิ่งใหม่ได้ดีและชัดเจนขึ้น  ข้อสำคัญก็คือ  ต้องแน่ใจว่าแบบจำลองที่เลือกมาใช้นั้นเป็นที่คุ้นเคยต่อผ้ใช้ส่วนใหญ่แล้ว

แบบแผนระบบข้อมูลแบบผสม (Hybrid Schemes)
                การจัดระบบข้อมูลโดยใช้เพียงแบบแผนใดแบบแผนหนึ่งนั้น  จะทำให้ผู้ใช้สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว  แต่เมื่อไรก็ตามที่จำเป็นต้องมีการผสมแบบแผนเหล่านั้น  ก็จะสร้างความสับสนให้กับผ้ใช้อย่างเลี่ยงไม่พ้น  ตัวอย่างของการผสมแบบแผนนั้นมีให้เห็นในเว็บไซต์ได้ทั่วไป  เนื่องจากเป็นเรื่องค่อนข้างยากที่จะตัดสินใจใช้เพียงแบบแผนเดียวกับข้อมูลที่มีอยู่อย่างหลากหลาย
                ในการนำเสนอข้อมูลที่มีความหลากหลายภายในเว็บ  ถ้าเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้หลายแบบแผนรวมกันในการจัดกลุ่มข้อมูล  วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ใช้ยังคงความเข้าใจในรูปแบบข้อมูลที่แตกต่างกันได้ดี  ก็คือการแยกส่วนการนำเสนอของแบบแผนที่ต่างกันให้อยู่คนละที่กัน  และทำให้มีลักษณะที่แตกต่างกัน

Read comments

พวกเราเหล่า Autobot

พูดคุยกับ Autobots


ShoutMix chat widget
 
  • Home
  • Posts RSS
  • Comments RSS
  • Edit