HOME
วันที่ 4 กันยายน 2554
วันที่ 2 กันยายน 2554
วันที่ 1 กันยายน 2554
- มันเข้าสู่เดือนที่ 9 ของปีแล้วเหรอ
- มันเป็นเดือนที่ใกล้สอบแล้วเหรอ
- เป็นเดือนที่มีกำหนดส่งงานมากที่สุด
- สำคัญสุด วันนี้หวยออก
ทำ RSS เพื่อดึงข่าวเว็บอื่นมาติดเว็บไซต์
23:17 | ป้ายกำกับ: Tech and Tips
นำ Code ด้านล่างไปไว้ในตำแหน่งที่ต้องการให้แสดงข่าว
1. ข่าวบันเทิง
<.iframe src ="http://www.zabzaa.com/news/entertain/entertain.php"
marginwidth=0 marginheight=0 hspace=0 vspace=0 frameborder=0 scrolling=No width=468 height=360>
2. ข่าวบันเทิงต่างประเทศ
<.iframe src ="http://www.zabzaa.com/news/ent/ent.php"
marginwidth=0 marginheight=0 hspace=0 vspace=0 frameborder=0 scrolling=No width=468 height=360>
3. ข่าวการเมือง
<.iframe src ="http://www.zabzaa.com/news/politic/politic.php"
marginwidth=0 marginheight=0 hspace=0 vspace=0 frameborder=0 scrolling=No width=468 height=350>
4. ข่าวกีฬา
<.iframe src ="http://www.zabzaa.com/news/sport/sports.php"
marginwidth=0 marginheight=0 hspace=0 vspace=0 frameborder=0 scrolling=No width=468 height=350>
5. ข่าวอาชญากรรม
<.iframe src ="http://www.zabzaa.com/news/crime/crime.php"
marginwidth=0 marginheight=0 hspace=0 vspace=0 frameborder=0 scrolling=No width=468 height=350>
6. ข่าวเทคโนโลยี
<.iframe src ="http://www.zabzaa.com/news/technology/technology.php">
marginwidth=0 marginheight=0 hspace=0 vspace=0 frameborder=0 scrolling=No width=468 height=360>
ตัวอย่างของเว็บที่ทำ RSS ข่าว
การนำเพลงมาใส่ใน Webpage
23:10 | ป้ายกำกับ: Tech and Tips
การใส่ตัวแปลภาษาของ Google Translate
22:35 | ป้ายกำกับ: Tech and Tips
ประวัติส่วนตัว
อายุ : 21 ปี
ที่อยู่ปัจจุบัน : 66/1 ซอย 2 ถนน
ควนขนุน หมู่ 3
ตำบล โคกหล่อ
อำเภอ เมือง
จังหวัด ตรัง
92000
เกิด : 10 กุมภาพันธ์ 2554
น้ำหนัก : 64 กิโลกรัม
ส่วนสูง : 170 เซนติเมตร
สัญชาติ : ไทย
เชื้อชาติ : ไทย
ศาสนา : พุทธ
สถานภาพ : โสด
สุขภาพ : แข็งแรง
ออกแบบเนวิเกชันสำหรับเว็บ
11:23 | ป้ายกำกับ: เนื้อหา Lecture
ความสำคัญของระบบเนวิเกชัน
ในชีวิตจริงของเราบางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องขับรถไปในที่ๆ ไม่เคยไปมาก่อน สิ่งที่ทุกคนปราถนาคือการไปถึงที่หมายโดยไม่หลงทางเพราะนอกจากจะทำให้เราไปไม่ถึงที่หมาย เสียเวลาเสียพลังงานแล้วยังอาจทำให้อารมณ์เสียได้อีก โชคดีที่เรามีระบบการป้องกันการจราจรที่ดี เช่นป้ายแสดงชื่อถนน ป้ายแสดงชื่อทางแยก สิ่งเหล่านี้เมื่อนำมาใช้ปะกอบกันก็จะช่วยให้เรารู้ตำแหน่งปัจจุบันและทิศทางไปสู่จุดหมายได้
เช่นเดียวกับโลกอินเตอร์เน็ท ที่คุณอาจหลงทางในเว็บไซท์บางแห่งเพราะขาดระบบการนำทางที่ดีทำให้เกิดความรู้สึกสับสนและไม่พอใจ ขณะที่การออกแบบโครงสร้างข้อมูลที่ดีช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนระบบนิเนวิเกชั่นเป็นส่วนเสริมในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่สื่อความหมาย เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ท่องเว็บได้อย่างคล่องตัวโดยไม่หลงทาง ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสบายขณะที่ท่องเว็บ โดยสามารถรู้ว่าตัวเองกำลังอยู่ที่ไหน ได้ผ่านที่ใดมาบ้าง และควรจะไปทางไหนต่อ
การเข้าถึงข้อมูลอย่างสะดวกเป็นหัวใจสำคัญของระบบเนวิเกชั่น การมีเนื้อหาในเว็บไซท์ที่ดีจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอแต่เนื้อหานั้นจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าผู้ใช้ค้นหาสิ่งที่ต้องการไม่พบ ความสำเร็จของเว็บไซท์ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ใช้สามารถพึ่งพาระบบเนวิเกชั่นในการนำทางไปถึงที่หมายได้
ระบบเนวิเกชั่นนั้นอาจประกอบด้วยองค์ประกอบหลายๆ อย่าง เช่นเนวิเกชันบาร์ หรือ pop-up menu ซึ่งมักจะมีอยู่ในทุกๆ หน้าของเว็บเพจ และอาจอยู่ในหน้าเฉพาะที่มีรูปแบบป็นระบบสารบัญ ระบบดัชนี หรือ site map ที่สามารถให้ผู้ใช้คลิกผ่านโครงสร้างข้อมูลไปยังส่วนอื่นๆได้ การเข้าใจถึงรูปแบบและองค์ประกอบของระบบเนวิเกชั่นเหล่านี้ จะทำให้คุณออกแบบระบบเนวิเกชันด้วยองค์ประกอบที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รูปแบบของเนวิเกชัน
ระบบเนวิเกชันสำหรับเว็บไซท์ขนาดใหญ่มักใช้หลายรูปแบบร่วมกันเพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลให้มากขึ้น ซึ่งผู้ออกแบบควรมีความเข้าใจและเลือกใช้อย่างเหมาะสม โดยไม่ให้หลากหลายหรือจำกัดเกินไป
ระบบเนวิเกชั่นแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้
◦ระบบเนวิกเกชั่นแบบลำดับขั้น (Hierarchical)
◦ระบบเนวิกเกชันแบบโกลบอล (Global)
◦ระบบเนวิกเกชั่นแบบโลคอล (Local)
◦ระบบเนวิกเกชันแบบเฉพาะที่ (Ad Hoc)
องค์ประกอบของระบบเนวิกเกชันหลัก (Main Navigation Elements)
ระบบเนวิกเกชันที่สำคัญและพบได้มากที่สุดคือ เนวิเกชันที่อยู่ในหน้าเดียวกับเนื้อหา ไม่ใช่เนวิกเกชันที่อยู่ในหน้าแรก เนื่องจากเมื่อผู้ใช้ผ่านหน้าแรกเข้าไปสู่ภายในเว็บไซท์แล้ว ก็ไม่อยากจะกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่หน้าแรกทุกครั้งก่อนจะเข้าไปดูเนื้อหาในส่วนอื่นๆต่อ ระบบเนวิเกชันหลักทั้งแบบโกบอลและแบบโลคอล จึงช่วยให้ผู้ใช้สามารถย้ายจากหน้าใดๆ ไปสู่ส่วนอื่นในเว็บไซท์ได้อย่างคล่องตัว องค์ประกอบของเนวิกเกชันมีได้หลายรูปแบบ ได้แก่ เนวิเกชั่นบาร์ เนวิกเกชันเฟรม Pull down, menu, pop-up menu, image map และ search box
เนวิเกชันบาร์ (Nevigation Bar)
เนวิเกชันบาร์เป็นระบบพื้นฐานที่ใช้ได้หลายรูปแบบทั้งแบบลำดับชั้น แบบโกลบอล และแบบโคบอล โดยทั่วไปเนวิเกชันบาร์จะประกอบด้วยกลุ่มของลิงค์ต่าง ๆ ที่อยู่รวมกันในบริเวณหนึ่งของหน้าเว็บ โดยอาจจะเป็นตัวหนังสือหรือกราฟิกก็ได้ และถือเป็นรูปแบบของระบบเนวิเกชันที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
เนวิเกชันบาร์ระบบเฟรม (Frame-Based)
การสร้างเนวิเกชันบาร์โดยใช้ระบบเฟรมเป็นอีกวิธีที่ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนวิเกชันได้ง่าย และสม่ำเสมอ คุณสมบัติของเฟรมจะทำให้คุณสามารถแสดงเว็บหลาย ๆ หน้าไว้ในหน้าต่างบราวเซอร์เดียวกัน โดยที่แต่ละหน้ายังเป็นอิสระต่อกัน การลิงค์จากเฟรมที่เป็นเนวิเกชันบาร์สามารถควบคุมการแสดงผลของข้อมูลในอีกเฟรมหนึ่งได้ ดังนั้นส่วนที่เป็นเนวิเกชันบาร์จะปรากฏอยู่คงที่เสมอ ในขณะที่ผู้ใช้เลื่อนดูข้อมูลใด ๆ ก็ตามในอีกเฟรมหนึ่ง การแยกระบบเนวิเกชันบาร์ออกจากหน้าข้อมูลในลักษณะนี้ จะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงระบบเนวิเกชันได้ตลอดเวลา และยังคงความสม่ำเสมอทั่งทั้งเว็บไซต์
อย่างไรก็รตาม การใช้เฟรมในระบบเนวิเกชันนั้น สร้างปัญหาที่สำคัญอีกหลายประการ อาทิเช่น
1.การครอบครองพื้นที่หน้าจอตลอดเวลา
2.รบกวนการทำงานของบราวเซอร์
3.ทำให้เวลาในการแสดงผลช้ายิ่งขึ้น
4.ต้องใช้การออกแบบที่ซับซ้อน
คุณสมบัติสำคัญของระบบเนวิเกชัน
ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีโปรแกรมที่ใช้ช่วยในการสร้างเว็บไซต์มากมาย แต่ก็ไม่มีโปรแกรมไหนที่จะช่วยสร้างระบบเนวิเกชันให้คุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้คุณสมบัติพิเศษ On Mouse Over หรือ Image Map ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก ในการออกแบบเว็บไซต์ต้องรู้หลักนการสร้างเนวิเกชันที่เหมาะสม เพื่อจะสื่อถึงเนื้อหาได้อย่างชัดเจนและน่าสนใจ จากนั้นจึงใช้โปรแกรมต่าง ๆ ช่วยสร้างสิ่งเหล่านั้นให้สำเร็จขึ้นมา คุณสมบัติของระบบเนวิเกชันทั้ง 10 ประการต่อไปนี้ ไม่ได้รวมกันเป็นสูตรสำเร็จแต่อย่างใด แต่จะเป็นส่วนช่วยให้เข้าใจในหลักการ และนำไปใช้ในการะบวนการออกแบบได้อย่างดี
ระบบเนวิเกชันที่มีประสิทธิภาพ ควรมีคุณสมบัติดังนี้
◦เข้าใจง่าย
◦มีความสม่ำเสมอ
◦มีการตอบสนองต่อผู้ใช้
◦มีความพร้อมและเหมาะสมต่อการใช้งาน
◦นำเสนอหลายทางเลือก
◦มีขั้นตอนสั้นและประหยัดเวลา
◦มีรูปแบบที่สื่อความหมาย
◦มีคำอธิบายที่ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย
◦เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์
◦สนับสนุนเป้าหมายและพฤติกรรมของผู้ใช้
การจัดระบบข้อมูลในเว็บไซต์
11:20 | ป้ายกำกับ: เนื้อหา Lecture
- การจัดเรียงข้อมูลตามลำดับอักษร (Alphabetical) เป็นรูปแบบการจัดระบบพื้นฐานของพจนานุกรม สารานุกรม สมุดโทรศัพท์ ห้องสมุด และดัชนีที่อยู่ด้านหลังหนังสือ สิ่งเหล่านี้ล้วนใช้ประโยชน์จากการลำดับตัวอักษรในการจัดเรียงข้อมูล แต่วิธีนี้ก็มีข้อด้วย คือ สิ่งที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจไม่มีความสัมพันธ์กันแต่อย่างใด
- การจัดข้อมูลตามลำดับเวลา (Chronological) มีความเหมาะสมกับข้อมูลบางประเภทที่มีความสัมพันธ์กับเวลา เช่น ข่าว หนังสือพิมพ์ รายการทีวี ซึ่งจำเป็นนำเสนอข้อมูลตามลำดับเวลา
- ข้อมูลที่ควรจัดระบบตามพื้นที่ (Geographic) ได้แก่ ข่าว พยากรณ์อากาศ เศรษฐกิจ การเมืองหรือการปกครอง ที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่
- จัดกลุ่มข้อมูลตามหัวข้อ (Topical) เป็นวิธีที่มีประโยชน์และนิยมใช้กันในเว็บไซต์โดยทั่วไป สิ่งสำคัญและท้าทายความสามารถในการจัดกลุ่มแบบนี้ คือ การกำหนดหัวข้อต่าง ๆ ให้สื่อความหมายและเข้าใจได้ง่าย มีขอบเขตไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป และควรคำนึงถึงข้อมูลใหม่ ๆ ที่อาจเพิ่มในอนาคตด้วย
- จัดกลุ่มข้อมูลตามกลุ่มผู้ใช้ (Audience-specific) ในกรณีที่คุณมีกลุ่มผู้ใช้ที่ชัดเจน และเข้ามาใช้บริการในเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการดีถ้าคุณสามารถแบ่งข้อมูลออกเป็นพวก ๆ ตามความสนใจของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม เพื่อความสะดวกในการเลือกดูเฉพาะที่ตนเองสนใจ
- จัดกลุ่มข้อมูลตามการทำงาน (Task-oriented) เป็นการแบ่งเนื้อหาและการทำงานต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปของกระบวนการ หน้าที่ และงานย่อย ในปัจจุบันเว็บไซต์ที่จัดระบบตามลักษณะงานนี้มีให้เห็นได้น้อย เนื่องจากข้อมูลในเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักจะเป็นเนื้อหามากกว่าการทำงาน
- จัดกลุ่มข้อมูลตามแบบจำลอง (Metaphor-driven) แบบจำลองเป็นสิ่งที่มักใช้กับการแนะนำสิ่งใหม่ โดยเชื่อมความสัมพันธ์กับสิ่งที่ใช้คุ้นเคยอยู่แล้ว ในขั้นนี้เราสามารถใช้แบบจำลองการจัดระบบ (organizational metaphor) ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสิ่งใหม่ได้ดีและชัดเจนขึ้น ข้อสำคัญก็คือ ต้องแน่ใจว่าแบบจำลองที่เลือกมาใช้นั้นเป็นที่คุ้นเคยต่อผู้ใช้ส่วนใหญ่แล้ว